กรณีศึกษาเรื่องการนำ Qualica มาใช้

รองรับระบบคลาวด์สำหรับ
อุตสาหกรรมการผลิต
ระบบควบคุมการผลิต
「ATOMS QUBE」
ITAOTEC(THAILAND)CO., LTD.

ความเป็นมา

ขีดจำกัดของการใช้ Excel
ในการควบคุมที่เห็นชัด

การนำมาใช้

ความเห็นพ้องระหว่างญี่ปุ่นกับไทย
กลายเป็นปัจจัยชี้ขาด

ผลลัพธ์

วางแผนการผลิต
โดยไม่มีเวลาที่เสียเปล่า

ความเป็นมา

ขยายธุรกิจไปสู่การผลิตแบบครบวงจร ตั้งแต่ขึ้นรูปด้วยเครื่องจักรจนถึงงานประกอบ
งานป้อนข้อมูล Excel จำนวนมากเกิดจากกระบวนการควบคุมดูแลการผลิต

บริษัทแปรรูปเหล็กอิทาโอะ (Itao iron works) ก่อตั้งขึ้นในปี 1951 มีสำนักงานใหญ่ที่อำเภอโคมัตสึ จังหวัดอิชิคาวะ ประกอบธุรกิจด้านการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรอุตสาหกรรมการผลิต และเครื่องจักรก่อสร้าง ป้อนให้แก่บริษัทชั้นนำของโลกอาทิ โคมัตสึ แคเทอร์พิลลาร์ เป็นต้น โดยปัจจุบันได้มีการขยายกิจการ ก่อสร้างโรงงานรวมทั้งสิ้น 4 แห่งในจังหวัดอิชิคาวะ ส่วนโรงงานในต่างประเทศมีเพียงแห่งเดียวคือ ITAOTEC (THAILAND) ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย ดำเนินกิจการเช่นเดียวกับบริษัทในญี่ปุ่น คือผลิตชิ้นส่วนอย่างเช่น Idler cushion Assy และ Work machine pin ซึ่งเป็นชิ้นส่วนช่วงล่างสำหรับเครื่องจักรก่อสร้าง แบบครบวงจรตั้งแต่การแปรรูปด้วยเครื่องจักร การอบชุบ เชื่อม จนถึงประกอบชิ้นส่วน และส่งมอบให้บริษัทโคมัตสึสาขาประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศอินเดีย เป็นต้น

ในช่วงเริ่มเปิดดำเนินกิจการปี 2009 บริษัทมีพื้นที่เพียง 1 ใน 4 ของขนาดโรงงานปัจจุบันซึ่งมีพื้นที่ 4,000 ตารางเมตร ชิ้นส่วนทั้งหมดต้องสั่งนำเข้าจากญี่ปุ่น บทบาทหน้าที่ของโรงงานในประเทศไทยมีแค่เพียงประกอบชิ้นส่วนเท่านั้น แล้วจึงค่อย ๆ ขยายเข้าขอบเขตงานเข้าสู่การติดตั้งเครื่องมือกล เครื่องเชื่อม เครื่องชุบแข็งโลหะ และอื่น ๆ จากนั้นจึงพัฒนาสู่ระบบการผลิตแบบครบวงจรอย่างเช่นปัจจุบัน โจทย์ปัญหาที่ต้องขบคิด ณ เวลานั้น ก็คือการควบคุมการผลิตด้วย Excel ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้มาตลอดตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท ช่วงมีงานผลิตน้อยยังพอไหว แต่เมื่อประเภทสินค้า จำนวนลูกค้าเพิ่มมากขึ้นตามการขยายธุรกิจ การป้อนข้อมูลของแต่ละวันลงระบบ Excel ก็เริ่มกลายเป็นงานใหญ่ยักษ์

นอกจากนี้ยังต้องกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะพิมพ์ผิด เนื่องจากมีตัวเลขถูกส่งมาจากไซต์งานแต่ละแห่งเป็นจำนวนไม่น้อย และที่สำคัญ แฟ้มงานยังมีเยอะนับไม่หวาดไหว ทั้งแฟ้มควบคุมงานผลิต แฟ้มงานเซล์ แฟ้มงานฝ่ายบัญชี ตามแต่ละแผนก แต่ละผู้รับผิดชอบ ดังนั้นเวลาเกิดการเปลี่ยนคำสั่งซื้อกะทันหัน แค่การหาข้อมูลออกมาเพื่อนำแจงร่วมกันก็เหนื่อยเสียแล้ว จริงอยู่ว่างานของบริษัทยังคงดำเนินได้ต่อเนื่องจากความมานะบากบั่นของคุณ Pornthip Aryuyuen ลีดเดอร์คนไทยของฝ่ายควบคุมการผลิต แต่วิธีการนี้จำต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันค่อนข้างสูง จึงเกิดเป็นข้อกังวลตามมาว่ากรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นกับเธอทุกอย่างคงไม่แคล้วสะดุดแน่นอน การปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไป ดีจริงแน่หรือ ด้วยเหตุนี้ เราจึงพิจารณาเกี่ยวกับการนำระบบควบคุมการผลิตมาใช้อย่างจริงจัง

นำมาใช้

ผู้บริหารสำนักงานใหญ่ติง"ทำงานปักหลักอยู่แค่หน้าจอ"สำนักงานใหญ่ที่ประเทศญี่ปุ่น และบริษัทสาขาในประเทศไทยเห็นพ้องในการนำมาใช้

ระบบซึ่งเป็นถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาหลังจากลองสอบถามกลุ่มธุรกิจใกล้เคียงก็คือ ระบบควบคุมการผลิตผ่านคลาวด์ของ Qualica ที่มีชื่อว่า “ATOMS QUBE” เนื่องจากเล็งเห็นว่ามีฟังก์ชั่นจำเป็นสำหรับการควบคุมการผลิต เช่น รับคำสั่งซื้อและส่งออกสินค้า ควบคุมคลังสินค้า วางแผนการผลิต ครบถ้วน และดำเนินการในรูปแบบคลาวด์ แค่มีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ก็สามารถใช้งานได้ทันที

ถึงกระนั้น การนำระบบมาใช้ถือเป็นการลงทุนรูปแบบหนึ่ง จึงต้องมีการประชุมหารือกันระหว่างบริษัทสาขาในประเทศไทยกับสำนักงานใหญ่ที่ประเทศญี่ปุ่นหลายต่อหลายครั้ง ว่าสิ่งนี้จำเป็นจริงหรือ ซึ่งเจ้าหน้าที่คนญี่ปุ่นของQualica ประเทศไทยเคยเดินทางไปยังสำนักงานใหญ่ที่เมืองโคมัตสึเพื่ออธิบายอย่างละเอียด มีครั้งหนึ่งที่ผู้บริหารฝ่ายควบคุมการผลิตจากญี่ปุ่นเดินทางมายัง ITAOTEC ด้วยเรื่องงาน แล้วกล่าวว่า "ทุกคนต้องปักหลักทำงานอยู่กับแค่หน้าจอโปรแกรม Excel หากหาวิธีลดภาระตรงนี้ เพื่อให้ทุกคนมีเวลาทำงานอื่นได้เพิ่มมากขึ้นจะไม่ดีกว่าหรือ" เหตุที่ท่านพูดเช่นนั้นก็เพราะพนักงานแผนกควบคุมการผลิต 4 คนจากที่มีอยู่ทั้งหมด 5 คน ต้องง่วนอยู่กับงานป้อนข้อมูล ในที่สุด สำนักงานใหญ่ที่ญี่ปุ่น บริษัทสาขาประเทศไทย และเหนือสิ่งอื่นใดคือพนักงานคนไทยที่อยู่หน้างานก็ลงความเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่าจะนำระบบเข้ามาใช้

โปรเจ็กต์เริ่มต้นเดินหน้าในเดือนพฤษภาคม 2019 โดย Qualica กับ ITAOTEC มีการพบปะหารือกันสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละนานหลายชั่วโมงตลอดช่วงระยะเวลา 2 เดือนโดยประมาณ เพื่อพูดคุยว่าจะนำระบบเข้ามาแทนที่การทำงานด้วย Excel แบบไหนอย่างไร กระทั่ง “Atoms Qube” ได้เข้ามาทำงานเต็มรูปแบบในปลายปีเดียวกัน

ผลลัพธ์

งานป้อนข้อมูลลดลงมาก การแบ่งปันข้อมูลในบริษัทราบรื่นขยับสู่การวางแผนงานผลิตแบบเรียลไทม์

หลังการนำระบบเข้ามาใช้งาน งานป้อนข้อมูลของแผนกควบคุมการผลิตลดลงอย่างมาก เนื่องจากตัวเลขที่แต่ละแผนกต้องป้อนแสดงในระบบทันที ส่วนการแบ่งปันข้อมูลร่วมกันนั้นก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด คุณ Pornthip กล่าวว่า "สมัยก่อนใคร ๆ ก็ชอบมาถามว่าว่าสต็อกสินค้ามีอยู่เท่าไร แต่ตอนนี้แค่เข้าระบบก็รู้แล้ว จึงไม่ต้องเสียเวลาเดินมาเพื่อถามข้อมูลเหล่านั้น"

เมื่องานป้อนข้อมูลลดลง ก็มีเวลาสำหรับตรวจเช็คงานว่าตัวเลขถูกต้องหรือไม่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถดูผ่านระบบได้ทันทีว่ากระบวนการใดยังไม่ป้อนข้อมูล สำนักงานใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นเองก็นำระบบควบคุมการผลิตมาใช้ ทำให้ให้ผู้เดินทางมาปฏิบัติหน้าที่จากประเทศญี่ปุ่น มองเห็นภาพสถานการณ์การทำงานในประเทศไทยได้ง่ายมากขึ้น เมื่อเทียบกับการควบคุมด้วย Excel ซึ่งมีความสลับซับซ้อน

การแสดงข้อมูลให้เห็นอย่างละเอียด นำไปสู่การสร้างแผนการผลิตโดยอาศัยข้อมูลแบบเรียลไทม์ สมัยที่ยังใช้การควบคุมผ่าน Excel กว่าที่ข้อมูลคำสั่งซื้อที่ถูกส่งเข้ามายังเซลล์จะถ่ายทอดถึงฝ่ายควบคุมการผลิต บางครั้งก็เกิดปัญหาล่าช้าจนต้องใช้เวลาถึงหนึ่งวันเต็ม ทว่าเวลานี้ หากลงคำสั่งซื้อช่วงเช้า ก็สามารถวางแผนการผลิตภายในวันนั้นได้เลย

หลังจากนำระบบมาใช้ ยูจิ นิชิโนะซึ่งเป็นผู้จัดการโรงงานเองก็สัมผัสได้ถึงความเปลี่ยนแปลง “สมัยทำงานด้วยExcel มักรู้สึกว่าสต็อกสินค้าในโรงงานบางครั้งถ้าไม่มีเยอะจนเกินไป ก็มีน้อยจนเกินไป แต่ตอนนี้เห็นชัดว่าสต็อกสินค้ามีความเสถียร" ส่วนนาโอะฟุมิ ทัตสึมิ ฝ่ายควบคุมการผลิตผู้ริเริ่มให้นำระบบมาใช้ตั้งแต่สมัยเริ่มแรกกล่าวด้วยความปลาบปลื้มว่า "การควบคุมการผลิต ครอบคลุมตั้งแต่การขนส่งของเข้าสู่โรงงานผลิต จนถึงการนำของที่ผลิตเสร็จจากโรงงานส่งต่อยังกระบวนการถัดไป พอมีคนบอกว่าขั้นตอนดังกล่าวนี้ลื่นไหล เป็นใครก็ย่อมดีใจทั้งนั้นแหละครับ"

ที่สำคัญ กระบวนการลงทะเบียนคำสั่งซื้อยังง่ายดายขึ้น กรณีของบริษัทขนาดใหญ่ บางครั้งจะมีการกรอกข้อมูลกำหนดการสั่งซื้อล่วงหน้าจนถึงปีถัดไปเอาไว้ก่อนแบบไม่เป็นทางการ แต่เนื่องจากทั้งหมดนั้นเป็นแค่การคาดคะเน จึงอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้ในทุกสัปดาห์ หากเป็นแต่ก่อน พนักงานผู้รับผิดชอบต้องเข้าไปแก้ไขข้อมูลใน Excel ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง ทว่าหลังจากนำระบบมาใช้ ทัตสึมิถึงกับออกปากว่า "สะดวกกว่ามาก เพราะแค่แปะข้อมูลที่ต้องการเปลี่ยนลงไป ไม่ต้องไล่หาว่าอะไรอยู่ตรงไหน"

การต่อยอดหลังจากนี้

ใช้ประโยชน์จากระบบ ปฏิรูปแนวคิดและความตระหนักรู้ของพนักงานมุ่งสู่ก้าวต่อไป

ไม่นานหลังจากเริ่มใช้ “ATOMS QUBE” เต็มรูปแบบ คุณ Pornthip กล่าวว่า "พูดตามตรง พวกเรายังใช้ได้ไม่คล่อง 100% ยังจำเป็นต้องเรียนรู้อีกเยอะ ซึ่งยิ่งเรียนรู้ เราก็เริ่มอยากได้โน่นได้นี่เพิ่มมากขึ้น" หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ ทุกวันนี้ทุกคนยังคงค้นหาว่าระบบนี้สามารถทำอะไรได้บ้าง และทำได้ถึงระดับใด

ตอนนี้รูปแบบการแบ่งปันข้อมูลร่วมกันเป็นรูปเป็นร่างชัดเจน ต่อไปคือการขยับสู่การนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ และคิดหาว่าจะใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง คุณ Pornthip กล่าวว่า "อยากให้ทุกคนเข้าใจระบบในระดับที่ทัดเทียมกัน หากทำได้ต่อไปต่อให้ขาดใครคนใดคนหนึ่งในทีม ก็ยังมีคนอื่นเข้ามาอุดรูโหว่นั้นได้ทันที" พูดง่าย ๆ คือ เธอคาดหวังจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในแนวคิดและความตระหนักรู้ของพนักงานแต่ละคน อยากให้ทุกคนกล้าคิดตัดสินใจว่าแผนกของตนสามารถนำข้อมูลที่ได้รับแบ่งปันมาใช้ทำอะไรได้บ้าง

ปีที่แล้ว ITAOTEC เพิ่งฉลองการเปิดโรงงานครบรอบ 10 ปี ซึ่งคุณยูเซ คิตามุระ ผู้ชักนำบริษัทให้เดินหน้าในฐานะประธานบริษัทซึ่งได้ดำรงตำแหน่งเป็นวาระที่ 2 กล่าวว่า "นับเป็นเรื่องสนุกไม่น้อย ที่ได้เห็นบริษัทใหญ่ขึ้นทีละนิด เติบโตขึ้นทีละน้อยตลอดช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา" จากนี้ เรายังคงมุ่งมั่นพัฒนาไม่หยุดหย่อน ต่อสู้เต็มกำลังภายใต้ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของพนักงานคนญี่ปุ่นและพนักงานคนไทย

คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด

ปรับปรุงการดำเนินงานหลักในอุตสาหกรรมการผลิตสนับสนุนการทำงานในสถานที่ทำงาน

ระบบการจัดการการผลิตบน

ATOMS QUBE

คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียด

ติดต่อสอบถาม